วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาบาติกในประเทศไทย


ประเทศไทย มีการทำผ้าบาติกเป็นอุตสาหกรรมกันมานานแล้ว มีการผลิตในหลายจังหวัดทางภาคใต้ เช่น ยะลา ปัตตานี สงขลา นราธิวาส และในภาคกลางเช่น กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังมีการผลิตผ้าบาติกตามสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง เช่น ภูเก็ต เกาะสมุย เชียงใหม่ พัทยา เป็นต้นแต่การแพร่หลายของผ้าบาติกนั้นเริ่มเข้ามาทางจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้รับอิทธิพลมาจากมาเลเซีย ซึ่งมาเลเซียเองก็ได้รับอิทธิพลมาจากอินโดนีเซียอีกทอดหนึ่งคนไทยรู้จักผ้าบาติกในลักษณะของ “ผ้าพันหรือผ้าปาเต๊ะพัน” โดยเรียกตามวิธีนุ่ง คือ พันรอบตัว คำว่า “โสร่ง” ก็มาจากภาษาอินโดนีเซียเช่นเดียวกัน หมายถึงผ้านุ่ง คนในท้องถิ่นภาคใต้ เรียกบาติกว่า “ผ้าปาเต๊ะ” หรือ “ผ้าบาเต๊ะ” ส่วนคนรุ่นเก่าเรียกผ้าปาเต๊ะที่ไม่ได้ผลิตในประเทศไทยว่า“ผ้ายาวอ”หรือ“จาวอ”(Java)ซึ่งหมายถึง ผ้าชวาและเรียกชื่อตามลักษณะของผ้าเป็นภาษาพื้นเมืองชายแดนภาคใต้4ชนิด คือ
1.จาวอตูเลส (Java Tulis)
2.จาวอตูเก (ผ้าชวากระบอกไม้ไผ่)
3.จาวอบือเละ แต่ใช้วิธีนุ่งแบบพันรอบตัว บางแห่งเรียกผ้าชนิดนี้ว่า ผ้าบาติกพัน (ผ้าพัน)
ใช้เรียกผ้าบาติกที่ใช้เทคนิคการเขียนเทียนด้วยจันติ้งตลอดทั้งผืน ใช้เรียกชื่อผ้าปาเต๊ะที่มีคุณภาพดีชั้นหนึ่ง เนื้อดีเบาบาง และผ้าผืนหนึ่ง ๆ สามารถม้วนได้เพียง 1 กำมือเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า ผ้าพันชวา ใช้เรียกผ้าบาติกที่มีความยาวตั้งแต่ 3.5 - 4 หลา เป็นลักษณะของผ้าที่ไม่เป็นตะเข็บผ้าให้ติดกันเป็นถุง
4.จาวอซือแย ชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รู้จักการทำผ้าบาติกโดยได้รับเทคนิคมาจากมาเลเซียและได้ตั้งโรงงานผลิตเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนอยู่ใต้ถุนบ้านหรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง ซึ่งมีคนงานระหว่าง 50 - 100คน แบ่งหน้าที่การผลิตออกเป็นแผนก ๆ ล้วนแต่อยู่ในจังหวัดนราธิวาสเสียเป็นส่วนมาก โดยเฉพาะที่อำเภอสุไหงโก-ลก ผ้าบาติกในช่วงปี พ.ศ. 2510 - 2522เป็นช่วงที่มียอดการจำหน่ายสูงสุด
ในปัจจุบันบาติกลายเขียนได้รับการพัฒนาและแพร่หลายมาก ทำให้สามารถผลิตผ้าได้หลายรูปแบบกว่าเดิม และสามารถขายได้ราคาที่ดีกว่าบาติกพิมพ์ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมผ้าบาติกในภาคใต้หันมาผลิตผ้าบาติกลายเขียน เกิดการแข่งขันในตลาดโดยแสดงลักษณะงาน รูปแบบและเอกลักษณ์ของตนเอง
จนผ้าบาติกบางชิ้นกลายเป็นจิตรกรรมที่มีราคาสูงกว่าทั่วไปมาก ผ้าที่นิยมทำกันมาก ได้แก่ ผ้าโสร่ง ผ้าชิ้น และเครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น
ส่วนเทคนิคการทำผ้าบาติกในประเทศไทยได้มีการทำผ้าบาติก 4 วิธี
1. บาติกลายพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์โลหะ ไม้ และเชือก และนำไปย้อม 3-4 ครั้ง
2. บาติกลายเขียน คือ เขียนเทียนลงบนผ้า นำไปย้อม อาจมีการปิดทียนเพื่อเก็บสี และย้อมอีก 1 - 2ครั้ง
3. บาติกลายเขียน และระบายสี เป็นการเขียนเทียนบนผ้า แล้วระบายสีทั่วทั้งผืน
4. บาติกกันเทียน ลัดสี ของจังหวัดลำพูน
ผ้าชวาตราดอกจิก เป็นผ้านุ่งที่มีคุณภาพดี มีตราดอกจิกเป็นเครื่องหมายการค้า และเป็นที่นิยมกันมากในหมู่ชาวไทยที่มีฐานะดีz


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น